ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ บล็อก ภาษาอังกฤษ ENGLISH >

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้ Dictionary ง่าย ๆนะคะเราต้องรู้จักส่วนประกอบของ Dictionaryกันก่อนนะ ว่ามีกี่ส่วนประกอบ คำตอบง่ายๆ มี 7 ส่วน ประกอบนั้นเอง
คำที่อ้างอิงถึง (References)

กลวิธีการอ่านอนุเฉท

องค์ประกอบการเขียนอนุเฉท (The Process of 

Writing a Paragraph) มี

1. มีหัวข้อเรื่อง (Topic) ต้องรู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไร

เช่น รู้ว่าจะเขียนเรื่องความคาดหวังจากการเรียนวิชาการเขียนอนุเฉทและ

เรียงความ (MExpectations from the Paragraph and 

Essay Writing Course หรือ

การลดน้ำหนัก (Losing Weight) เป็นต้น

ข้อสำคัญ นักศึกษาควรตั้งชื่อเรื่องให้เป็น คำ (words) หรือ วลี 
(phrase) เนื่องจากไม่
นิยมตั้งเป็นรูปประโยค และเขียนคำขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ยกเว้น คำบุพบทและ a, an, the
ตามตัวอย่างข้างต้น
2. มีประโยคความคิดหลัก (Main Idea) ต้องรู้ว่าจะเน้นเขียนอะไรเป็นหลักเกี่ยวกับ
หัวข้อเรื่องนั้นๆ (Topic Sentence) มีประโยคความคิดหลัก 1 ประโยค ซึ่งนิยมเขียน
ไว้ในประโยคแรกของงานเขียนอนุเฉท บางครั้งผู้เขียนนำประโยคความคิดหลักไว้
ตรงกลางหรือตอนท้ายของงานเขียน แต่จะเขียนยากมากกว่าการนำไปใส่ไว้ตอน
แรกของงานเขียน
เช่น รู้ว่ามีความคาดหวังจากการเรียนวิชาการเขียนหลายอย่าง
- I have several expectations from the writing class.
หรือ My expectations from taking the Paragraph and Essay Writing
Course are fourfold. ประโยคดังกล่าวถือเป็นประโยค main idea
3. มีประโยคสนับสนุนหลัก (Main Supporting Sentences) ต้องรู้ว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่จะ
นำมาสนับสนุนความคิดหลัก ซึ่งมีได้หลายประโยคและนำมาเขียนเรียงต่อกันอย่างเป็น
ระบบ นั่นหมายถึงต้องพิจารณาว่าประโยคไหนควรมาก่อน หรือประโยคไหนมีความ
สำคัญน้อยควรมาทีหลัง
4. มีประโยคสนับสนุนรอง (Minor Supporting Sentences) มีหรือไม่มีก็ได้
ถ้ามีประโยคจะสนับสนุนประโยคหลักและควรวางไว้ใกล้กัน เมื่ออ่านแล้วจะได้เนื้อหา
ใจความที่ต่อเนื่องกัน
5. ประโยคสรุป (concluding sentence) มีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีให้เขียนอยู่ประโยคสุดท้ายของงาน
เขียนอนุเฉท
***นอกจากองค์ประกอบการเขียนอนุเฉทที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว งานเขียนต้องมีเนื้อหาเป็น
หนึ่งเดียว หรือมีเอกภาพ (Unity) ไม่เขียนออกนอกเรื่องที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่องค์ประกอบที่ 1 ถึง 5
ตามแผนภูมิด้านล่างนี้ ถ้าเขียนอนุเฉทให้มีส่วนประกอบตามที่กำหนดไว้ งานเขียนจะมี Unity


***นอกจากนี้งานเขียนต้องมีความสอดคล้อง (Coherence) ด้านเนื้อหา โดยใช้คำเชื่อม (conjunctions)

ต่างๆ เชื่อมโยงเนื้อหาระหว่างประโยค



ตัวอย่างคำเชื่อมระหว่างประโยค

and, or, but, nor, for, so, yet

and
My father loves cooking, and he loves swimming.

พ่อของฉันรักการทำอาหารและพ่อก็รักการว่ายน้ำ


or
Students need to study hard, or they will fail.

นักเรียนต้องขยันเรียนหรือไม่งั้นก็สอบตก


But, yet
Sam’s boss was not satisfied with his work, but he had a raise last year.

เจ้านายของแซมไม่พอใจการทำงานของแซมเลยแต่เขาก็ได้เงินเดือนเพิ่ม


mor
The teachers did not correct my English, nor did they check my spelling.

ครูทั้งหลายไม่แก้ภาษาอังกฤษของฉันเลยและครูก็ไม่ตรวจตัวสะกดของฉันด้วย


for
All of you should work harder, for it makes your parents happy.

พวกคุณทุกคนควรขยันมากกว่านี้เพื่อที่ว่าพ่อแม่ของคุณจะได้มีความสุข


so
We played too much last night, so we got up late this morning.

เมื่อคืนนี้พวกเราเล่นมากไปหน่อยดังนั้นเช้านี้พวกเราจึงตื่นสาย




เปรียบเทียบการใช้คำเชื่อมในตารางด้านล่าง คำเชื่อมช่องที่ 1 และ 2 มีความหมาย

เหมือนกันแต่แตกต่างด้านไวยากรณ์เพียงนิดเดียว
1
2
ตัวอย่างการใช้

Moreover,
My father loves cooking, moreover, he loves swimming.

Furthermore,
and
หรือ

Besides
My father loves cooking. Moreover, he loves swimming.


Otherwise
or
Students need to study hard; otherwise, they will fail.

Students need to study hard. Otherwise, they will fail.


Nevertheless
but,
Sam’s boss was not satisfied with his work; nevertheless, he had

a raise last year.

yet
หรือ

Sam’s boss was not satisfied with his work. Nevertheless, he had

a raise last year.


so that
for
All of you should work harder so that it makes your parents happy.

in order that

All of you should work harder in order that it makes your parents

happy.


Therefore,Hence
so
We played too much last night; therefore, we got up late this

หรือ
morning.

We played too much last night. Therefore, we got up late this

morning.




การระดมความคิด (Brainstorming)

การระดมความคิดมีความสำคัญอย่างมากสำหรับงานเขียนโดยเฉพาะนักศึกษาที่เริ่มฝึกเขียนเป็น

ครั้งแรก ซึ่งมีหลายแบบแล้วแต่ความชอบและความถนัดของแต่ละคน เช่น แบบ Listing และ Grouping

แบบ Clustering หรือ แบบ Mind Mapping เป็นต้น
ตัวอย่าง แบบ Listing และ Grouping เริ่มจากระดมความคิดที่ได้แล้วจดใส่ในกระดาษเพื่อกันลืม

โดยยังไม่ต้องคำนึงถึงความถูกผิด นึกอะไรได้ก็เขียนใส่ลงไปก่อน ขั้นตอนนี้เรียกว่า Listing จากนั้น

ให้พิจารณาสิ่งที่ระดมความคิดได้ว่าควรจะจับความคิดไหนหรือประโยคไหนให้อยู่กลุ่มเดียวกัน

และตัดประโยคที่ไม่เข้ากลุ่มทิ้งซะ ขั้นตอนนี้เรียกว่า Grouping

ระดมความคิดจากหัวข้อ My Expectations from the Paragraph and Essay Writing Course Listing:


Write better. Develop my writing skills. Learn how to write a paragraph correctly.


Know the differences between writing paragraphs and essay in Thai and in English

Improve English grammar. Use for work.


Use for correspondence with foreign customers.


Get a good grade. Pass this course.

Grouping:

1. Develop my writing skills. Learn how to write paragraphs and essays correctly.

Improve English grammar. อาจตัด Write better ทิ้งเพราะซ้ำซ้อนกับประโยคที่เหลือ

2. Know the differences between writing paragraphs and essays in Thai and in English.

3. Use for work. Use for correspondence with foreign customers.

4. Get a good grade. Pass this course.

หลังจากจับกลุ่มเข้าด้วยกันแล้ว จะเห็นว่าความคิดที่ได้ระดมไว้มี 4 กลุ่มด้วยกัน และจากจุดนี้นักศึกษา

สามารถระบุได้เลยว่านักศึกษามีความคาดหวังจากการเรียนวิชาการเขียนนี้ 4 อย่าง หรือหลายด้าน

(ซึ่งก็คือ Topic Sentence นั่นเอง) และนำไปเขียนอนุเฉทได้เลยตามตัวอย่างในหน้าถัดไป

                 My Expectations from the Paragraph and Essay Writing Course.1


I have many expectations from taking the Paragraph and Essay Writing Course.2 One

of those is to develop my writing skillsso that I can learn how to write paragraphs and essays

correctly and improve my grammar.4 Another one is to know the differences between writing

paragraphs and essay in Thai and in English.5 I also expect to use the skills with my foreign

customers at work.6 At the end, I expect to pass this course or even get an A.7


***ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรใช้ประธานขึ้นต้นประโยคเหมือนกันหมด เพราะงานเขียนจะไม่น่าอ่าน
2. หาคำเชื่อมมาเชื่อมระหว่างประโยคเพื่อให้เกิดความสอดคล้องของเนื้อหา ดังตัวอย่าง ผู้เขียนได้
ใช้ One of those (หนึ่งในนั้น) so that (เพื่อที่ว่า) Another one (ความคาดหวังอีกอย่าง) also
(เช่นเดียวกัน) At the end (สุดท้าย) เพื่อให้น่าอ่านขึ้นและมีความสอดคล้องทางเนื้อหา

----------------------------------------------------------------------
1. หัวข้อเรื่อง (Topic)
2. ประโยค Topic sentence หรือ main idea ของเรื่อง
3. ประโยคสนับสนุนหลักที่ 1 (major supporting sentence)
4. ประโยคสนับสนุนรองซึ่งมี 2 ประโยค (minor supporting sentences)
5. ประโยคสนับสนุนหลักที่ 2 (major supporting sentence)
6. ประโยคสนับสนุนหลักที่ 3 (major supporting sentence)
7. ประโยคสนับสนุนหลักที่ 4 (major supporting sentence)
<iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/cWP5gac6P_w" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>